ระบบ Dante มันคืออะไร เสียงดีหรือเปล่า มันทำงานเสถียรหรือไม่ น่าใช้งานไหม แล้วจะเซตอัพยังไง ต้องซื้ออุปกรณ์อะไรบ้าง. และจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบเน็ตเวิร์ก Dante
สำหรับบทความชุดนี้ถูกเขียนขึ้นเป็นสกู๊ปพิเศษ แบ่งเป็นสองภาค ภาคแรกเป็นการบรรยายโดย คุณศักดิ์ชัย ซึ่งได้บรรยายไปเมื่อ 19 ก.ย. 58 ที่โชว์รูม YDACC ส่วนภาคสองจะเป็นงานสัมมนาที่ทางสยามดนตรียามาฮ่าจัดขึ้นเมื่อ 13 พ.ย. 58 ที่ห้องประชุมใหญ่ ทั้งหมดมีความยาว 10 ตอน และมีเนื้อหามากกว่า 30,000 คำ นับเป็นสกู๊ป Special Reports ยาวที่สุดที่เคยเขียนมา ถ้าใครไม่มีเวลาว่างอ่านก็ซื้อมาเก็บไว้ก่อน เพราะหากพลาดหรือถ้าขาดเล่มใดเล่มนึงไป เนื้อหาก็จะไม่ต่อเนื่อง ถ้าจะให้แนะนำสมัครรับเป็นรายปีไปเลยครับ ผู้เขียนได้พยายามเรียบเรียงการบรรยายของวิทยากรทุกๆ ท่านไว้อย่างครบถ้วนที่สุด ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ระบบเน็ตเวิร์ก Dante จากเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง ซึ่งวิทยากรแต่ละท่านเป็นผู้รู้จริงในเรื่องเน็ตเวิร์ก Dante ไม่ว่าจะเป็น คุณศักดิ์ชัยและ ทีมงานออดิเนท เมื่อท่านอ่านบทความชุดนี้จบ ผู้เขียนหวังว่าท่านจะเข้าใจระบบเน็ตเวิร์ก Dante มากยิ่งขึ้น เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

คุณศักดิ์ชัย กล่าวว่า สำหรับเรื่องเน็ตเวิร์ก Dante นั้นเนื้อหาค่อนข้างจะยาวนิดนึง ผมพยายามตัดแล้วตัดอีก เหลืออยู่นิดเดียว นี่ตัดไปเยอะแล้วนะ ปกติเราใช้เวลาอบรมเรื่อง Dante ประมาณ 2 - 3 วัน เพราะรายละเอียดเนื้อหามันเยอะ แต่วันนี้ผมก็จะย่อๆ มาให้ เพื่อให้พอเข้าใจคร่าวๆ โดยเนื้อหาจะไม่ลงลึกมาก แต่ว่าพอรู้เอาไว้ ทำไมต้องรู้ ถ้าเรารู้ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาได้ด้วย ปัญหามันต้องมีและเราต้องแก้ได้ ซึ่งการแก้ปัญหาเนี่ยอยู่ที่เบสิคของเรา คือพื้นฐานเราต้องดี แล้วเราจะเข้าใจ อันนี้ผมจะพูดเรื่องทั่วไปของระบบเน็ตเวิร์ก Dante สำหรับคำว่า "Dante" มันเป็นชื่ออินเทอร์เฟซ อย่าไปเข้าใจว่าเป็นผู้ผลิตนะครับ ฉะนั้น Dante จึงเป็นชื่ออินเทอร์เฟซที่เราใช้ เหมือนกับที่เราใช้ระบบ CobraNet, Ethernet, MADI และอื่นๆ ทั้งหมดเป็นชื่อของรูปแบบการเชื่อมต่อ...
สำหรับเน็ตเวิร์ก Dante เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทที่ชื่อ ออดิเนท (Audinate) ซึ่งบริษัทนี้อยู่ในออสเตรเลีย แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงว่า Dante เน็ตเวิร์กคืออะไร สำหรับเน็ตเวิร์ก Dante ก็คือเน็ตเวิร์กที่รันบนสวิตช์ระดับกิกะบิต ใช้กับพวกสวิตช์รุ่นเก่าๆ อย่างพวก 100M ไม่ได้นะ ตรงนี้บอกไว้ก่อนเลยจะได้ไม่ผิดพลาดเอาตัวสวิตช์ 100M มาใช้ สำหรับการส่งข้อมูล ตัวนี้จะเป็นการส่งข้อมูลสองทิศทาง สายหนึ่งเส้นไม่ใช่วิ่งสัญญาณไปทางเดียว แต่มันรับส่งได้พร้อมกัน รองรับจำนวนแชนเนลได้สูงถึง 512 แชนเนล ซึ่งรูปโครงสร้างจะต้องใช้เน็ตเวิร์กที่เป็น 1 กิกะบิตเท่านั้น ตัวระบบเน็ตเวิร์ก Dante จะเรียกว่าเป็นระบบ Fix Latency หมายถึงทุกๆ จุดนั้นมีค่า Latency เท่ากัน เพราะฉะนั้น เราต้องเช็คเน็ตเวิร์กของเราก่อนว่าเราใช้กี่ชั้น เราจึงต้องกำหนดตัว Latency โดยปกติอุปกรณ์แต่ละตัวมันจะมีค่า Latency เฉพาะในตัวมันอยู่แล้ว แต่ว่าตัวนี้จะสามารถเซตได้ทั้งระบบว่าจะให้ค่า Latency วิ่งที่ค่าเท่าไหร่ ในระบบ Danteมันมีอย่างหนึ่งที่ผมชอบมากที่สุดเลย จากที่ผมเคยใช้มาหลายๆ ฟอร์แมตแล้ว ไม่ว่าจะเป็น CobraNet ก็ตาม บอกเลยเซตยากมาก เพราะเราต้องกำหนดแอดเดรสอะไรต่ออะไร เดี๋ยวช่วงหลังเบรคเราจะมาอธิบายต่อว่ามันคืออะไร แล้วก็โครงสร้าง Ethernet ด้วย...
กลับมาที่ส่วนความพิเศษของระบบ Dante จะมีสิ่งพิเศษอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Automatic Discovery ในกรณีที่เสียบสายมันจะช่วยหาว่าในระบบเน็ตเวิร์กมีใครอยู่บ้าง แล้วตัวเครื่องในระบบก็จะแจ้งว่าฉันชื่อคนนี้ ฉันชื่อคนนั้น เหมือนเราขานชื่อเรียกกัน ก็ขานชื่อบอกฉันเป็นใคร อยู่ตรงไหน อันนี้เรียกว่าระบบเน็ตเวิร์ก Discovery ซึ่งระบบ IP ก็ยังมีการ Redundant ตัวเองได้ด้วย คือทีนี้ในระบบเน็ตเวิร์ก Dante เขาจะมีฟังก์ชั่นนึงที่เรียกว่า Redundant ตัว Redundant ในระบบอื่นๆ เวลาอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านมันจะมีการสะดุดนิดนึง คือบางคนอาจจะไม่สังเกตแต่คนที่ทำน่ะรู้ แต่ระบบนี้จะไม่เป็น สำหรับเรื่อง เวิร์ดคล็อค ตัวนี้จะเลือกออโตเมติกได้ หากตัวแม่ล่มมันจะหาตัวต่อไปโดยอัตโนมัติ คือทำ นองหาประธานคนต่อไปรอไว้ ซึ่งจะมีข้อดีคือระบบจะไม่ล่ม เพราะหลายๆ ระบบถ้าเวิร์ดคล็อคหาย เสียงหายด้วยถูกมั้ย ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบเสียง ระบบดิจิตอลทั่วไป ในส่วนของค่า Latency จะตั้งได้ต่ำถึง 0.5ms ค่า 1 ms นานแค่ไหน แล้ววินาทีนึงกี่ Sec ก็คือ 1 Sec ถ้า 1 ms ก็คือ 1/1000 วินาที นานมั้ย ไม่มีความรู้สึกนะ เพราะฉะนั้นตัวนี้ค่อนข้างที่จะเร็วมาก ดังนั้น 0.5ms หรือครึ่งของ ms นะครับ ตัวระบบ Dante เน็ตเวิร์กยังรองรับระบบที่เรียกว่า Virtual Sound Card ต่อไปนี้เราไม่จำเป็นต้องไปเสียบฮาร์ดแวร์ซาวด์การ์ดอีกแล้ว เราสามารถทำให้คอมพิว เตอร์เครื่องนึงกลายเป็นซาวด์การ์ดได้ด้วย โดยไม่ต้องเสียบฮาร์ดแวร์ ก็คือใช้อินเตอร์เน็ตที่เรามีอยู่ได้เลย

ตัวเน็ตเวิร์ก Dante เวลาใช้จะต้องใช้เชื่อมต่อผ่านสวิตช์กิกะบิตเท่านั้นนะครับ โครงสร้างการเชื่อมต่อจะมีรูปแบบหลายลักษณะ ตัวสวิตช์กิกะบิตหนึ่งตัวก็จะมีค่า Latency หรือค่าหน่วงทางเวลาให้ช้าลงประมาณ 250 µsec. เพราะฉะนั้นถ้าเราใช้สวิตช์สักประมาณ 5 ตัว ก็จะเป็น 300 ถึง 500 µsec. หรือ 1ms สำหรับสวิตช์ 10 ตัว สำหรับเน็ตเวิร์กที่ทำเราอาจจะกลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้นโดยรันอยู่ที่ประมาณ 5ms รู้มั้ยครับว่าระยะความหน่วงระหว่างสองเสียงที่คนเรารู้สึกได้ จะเป็นระยะหน่วงที่กี่ ms ครับ คนทำซาวด์นี่รู้เลย พยักหน้ารอ ประมาณ 50ms ที่หูคนเราฟังออก อันนี้แค่ 5ms คิดเป็น 10 เท่าเลยนะ ระดับนี้แยกไม่ออกเลยนะ ขนาดรันบน safe mode ด้วยนะ ในการส่งข้อมูลในระบบ Dante จะสามารถส่งข้อมูลได้หลายๆ ชุดพร้อมกัน แล้วก็มีคนรับพร้อมกันหลายๆ คน ซึ่งในรูปแบบการส่งจะมี 2 ลักษณะคือแบบ Unicast และแบบ Multicast อันนี้ผมจะให้นิยามคำเหล่านี้ก่อน เพราะหลายคนทำระบบออดิโอเน็ตเวิร์กแล้ว “งง”Unicast คืออะไรครับ...? Multicast คืออะไรครับ...? ปกติเวลาส่งข้อมูล ในส่วนของปลายทาง ถ้าเป็น Unicast ก็จะเป็นการส่งทิศทางเดียว ในกรณีที่เป็นแบบ Unicast ก็จะเป็นแบบสายเส้นเดียวแต่วิ่งไปสองที่ ถ้าเป็นแบบ Multicast สายเส้นเดียวก็จะวิ่งไปทุกจุด ต้องบอกว่าหลายๆ จุด เช่น เราประกาศอยู่ที่อาคารนึง แต่ว่าจ่ายไปอาคาร 2-3-4-5 เราอาจจะมี 10 อาคารแต่เราไปแค่ 5 อาคารไง อีก 6-8-9-10 เราไม่กระจายข้อมูลไป อันนี้จะเป็นลักษณะของ Multicast ในรูปแบบถัดมา เดี๋ยวมีเรื่องในช่วงท้ายๆ จะพูดถึง Unicast และ Multicast กันอีกรอบนึง...
ในส่วนของระบบเน็ตเวิร์ก Dante ทุกวันนี้เริ่มมีคนมาใช้ระบบ Dante มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ วัน เนื่องจากความง่ายและความเสถียรของระบบ อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ของ ยามาฮ่า ที่ออกมาก็รองรับระบบ Dante ด้วย รวมทั้งระบบของ M7, MTX, MRX พวกอุปกรณ์ ยามาฮ่า ที่ลงท้ายด้วยตัวD ทั้งหลายนั้น รองรับเน็ตเวิร์ก Dante หมด รวมทั้งการ์ดที่เป็นของ ออดิเนท เอง เขาทำการ์ดขายด้วยนะครับ สามารถใช้งานร่วมกับบอร์ดยามาฮ่าได้ทุกตัว ที่เป็นรุ่นใหม่ๆ นะ สำหรับรุ่นเก่าๆ จะเสียบไม่ได้นะ แค่หาที่เสียบการ์ดยังไม่เจอเลย (ฮ่าๆ) กับ NEXO เขาก็ทำการ์ดออกมาเหมือนกัน หมายความว่าเราใช้แอมป์ของ NEXO แล้วเอาการ์ดนี้ไปเสียบที่แอมป์ แล้วสัญญาณเสียงวิ่งผ่านสายเคเบิล CAT ไปที่ตัวแอมป์ได้โดยตรง ไม่ต้องไปแปลงเป็นอะนาลอกเลย พอจะนึกภาพออกมั้ย เพราะฉะนั้นเราสามารถอยู่ห่างจากมิกเซอร์ได้ไกลมากเป็นร้อยเมตร ไม่ต้องไปดึงสายอะนาลอกมาต่อยาวๆ แล้วสายเคเบิลพวกนี้มันไม่มีการสูญเสียแบบอะนาลอกอีกด้วย ในส่วนของซอฟต์แวร์ทาง ออดิเนท ก็ทำขึ้นมาซัพพอร์ตเขาเรียกว่า Dante Controller หน้าที่ของเจ้า Controller มีหน้าที่ติดตาม ควบคุมและแก้ไขระบบ เนื่องจากว่าระบบนี้มันรันอยู่ในระบบเน็ตเวิร์กซึ่งเรามองไม่เห็นใช่มั้ย เราจะเข้าไปดูได้ก็ต้องดูผ่านโปรแกรมตัวนี้ ซึ่งซอฟต์แวร์ตัวนี้เป็นฟรีแวร์เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี ถ้าเราดาวน์โหลดโปรแกรมตัวนี้มาติดตั้ง เราก็จะสามารถตรวจสอบระบบได้ ซึ่งตัวนี้ฟรีนะครับ โหลดได้ที่เว็บไซต์ audinate.com ถ้าเป็นระบบพีซีจะ ต้องดาวน์โหลดโปรแกรมที่ชื่อว่า Apple Bonjour ต้องโหลดไดรเวอร์ตัวนี้เข้าไปด้วย คือเฉพาะพีซีอย่างเดียว ส่วนแมคฯไม่ต้อง แมคฯเขามีมาอยู่แล้ว ตัวนี้เขาใช้พอร์ต Ethernet นะไม่ใช่พอร์ต USB ก็คือพอร์ต LAN ที่เราใช้กันทั่วไป...
ส่วนอีกตัวหนึ่งที่ ออดิเนท เขาทำออกมาเป็น license อันนี้ต้องซื้อ หรือคนที่ซื้อบอร์ดไปเขาก็จะแถมแผ่นเหลืองๆ ไว้ให้ ตัวนี้ทำหน้าที่ให้คอมพิวเตอร์แปลงมาเป็นซาวด์การ์ด ตัวนี้เมื่อใส่ลงไปในคอมพิวเตอร์ปุ๊บมันจะไปเกาะสิ่งที่เรียกว่า ASIO หรือว่า Core Audio พวกนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกได้พร้อมกัน 64 แทร็ก แล้วสามารถเพลย์แบ็กได้ 64 แทร็กเหมือนกัน สำหรับคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง... ถามว่าเน็ตเวิร์กหนึ่งวงสามารถใช้คอมพิวเตอร์สองเครื่องอัดได้มั้ย... ตอบว่าได้... มันเป็นลักษณะการแชร์แพ็กเกจไงครับ มันไม่ใช่การต่อสายเข้าหากันแล้วสัญญาณจะดร็อป เราไม่ได้ทำสเน็คเคเบิล หรือเราไม่ได้ทำ Y เคเบิล เพราะฉะนั้นสัญญาณจะไม่ดร็อป ข้อมูลแค่ถูกแชร์ส่งไปเท่านั้นเอง เวลาเราพูดให้คนนึงฟัง ข้อมูลก็จะดังเท่าเดิมใช่มั้ย ไม่ได้เบาลงกว่าเดิม อันนี้หลักการแบบนั้น เป็นการสื่อข้อมูลกันแทน ฉะนั้น license หนึ่งอันก็จะลงคอมฯได้เครื่องเดียว หนึ่งแผ่นลงคอมฯหนึ่งเครื่อง อยากได้เพิ่มก็ไปซื้อเอามาใส่ อันนี้จะเป็นของ ออดิเนท จำหน่าย ไม่ใช่ของยามาฮ่าจำหน่ายนะ แต่คนที่ซื้อบอร์ด CL ไปเราจะแถมตัวนี้ให้หนึ่งแผ่น แถมให้ฟรีเลยนะ ไม่งั้นก็ไปซื้อเองประมาณ 100 ดอลล่าร์ ไม่แพงนะประมาณ 3 พันกว่าบาท บางช่วงก็เซลล์ลองไปดู ซึ่งตัวนี้จะใช้ผ่านระบบเน็ตเวิร์กระดับกิกะบิตเช่นกัน ตัวนี้ก็สามารถรองรับ DAW ด้วยนะ หรือว่า Digital Audio Workstation ที่รันบนตัว Nuendo หรือ Cubase มันสามารถทำงานได้สองทิศทาง ตัวมิกเซอร์สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์สามารถเรคอร์ดได้ด้วย
ส่วนระบบเน็ตเวิร์ก Redundant จะเป็นการเชื่อมต่อแบบสองพอร์ต ตัวแรกเราเรียกว่าพอร์ต Primary คือพอร์ตหลัก ส่วน Secondary คือพอร์ตสำรอง บางคนบอกไม่ใช่พูดผิด Primary แปลว่าปฐมภูมิ ส่วน Secondary ก็คือทุติยะภูมิ อันนั้นก็ใช่ ปฐมก่อนแล้วมาทุติ ซึ่งก็คือตัวหลักก่อนแล้วค่อยตัวรอง เมื่อพอร์ตหลักทำงานอยู่จู่ๆ มันหยุดทำงานปุ๊บ พอร์ตที่สองจะทำงานทันที ระบบนี้จึงจำเป็นต้องใช้ฮับสวิตช์ ซึ่งตัวสวิตช์ก็จะมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งต้องใช้สองชุดมาต่อพ่วงกัน ซึ่งตัว Secondary จะแยกออกมาอีกวงนึง สีฟ้าคือเน็ตเวิร์ก Primary (ตามรูป) ส่วนเน็ตเวิร์กสีแดงจะเป็นของ Secondary ทั้งสองตัวนี้ทำงานพร้อมกันนะ ถ้าหากตัว Primary หลุด ตัว Secondary จะทำงานต่อเลย ผมจะวง เล็บไว้เลยว่าตัวนี้จะไม่เหมือนตัว CobraNet เลยนะ เพราะว่า CobraNet ใช้แค่วงเดียว ซึ่งก็คือ Primary วงเดียว อันนี้ต่อเข้าด้วยกันได้ แต่ตัว CobraNet จะมีตัวหนึ่งที่เรียกว่า Double Bandwidth คือมันใช้อีกพอร์ตนึงเนี่ยเพื่อไปทำให้ค่า Sampling rate ให้มันสูงขึ้น ตัวนั้นไม่ค่อยดีเท่า ไหร่ เพราะบางทีไปเสียบเส้นเดียว อย่างเสียงจากย่าน 20Hz-20kHz มันจะถูกหั่นออกเป็นสองช่วง ช่วงแรกคือ 20Hz-1kHz ช่วงที่สอง 1kHz-20kHz นึกออกมั้ยครับ แบ่งครึ่ง ถ้าเราเสียบสายไปเส้นหนึ่งมันก็จะดังแค่ห้วงความถี่เดียว อันนี้ได้ยินเสียงครบใช่มั้ยตั้งแต่ 20Hz ก็จะได้ยินเสียง Low อย่างเดียว พอนึกออกมั้ย บางทีเกิดปัญหาแล้วแก้ยากเลยไม่ค่อยสะดวก ยิ่งถ้าเป็นงานไลฟ์มันทำงานด่วนๆ ไม่ทัน เราเนี่ยจะเครียดเอาแต่ว่าตัว Dante มันจะง่ายมากเราจะเช็คระบบได้ทั้งระบบเลย โดยใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ...
ส่วนรูปแบบตัว DVS เราจะรันเฉพาะบนตัว Primary เท่านั้น และตัว DVS ไม่สามารถต่อกับ Secondary เน็ตเวิร์กได้นะครับ เหตุผลเพราะคอมพิวเตอร์มันมีแค่พอร์ตเดียว ถามว่าถ้าไปเสียบ USB พอร์ตเพิ่มอีกได้มั้ย เสียบได้แต่ข้อมูลมันรับส่งไม่ได้ มันใช้แค่พอร์ตเดียว เพราะคอมพิวเตอร์มันบอกได้แค่นั้น เป็นพวกรักเดียวใจเดียวนะ (ฮา) ดังนั้นคอมพิวเตอร์มันจะเรคอร์ดได้เฉพาะกับ Primary เท่านั้น เราไม่สามารถจะไปต่อกับ Secondary ได้ แต่เราจะมีพีซีหลายๆ เครื่องเป็นหมายเลขหนึ่ง หมายเลขสอง แบบนี้ได้มั้ย ตอบว่าได้ ทำได้พร้อมกัน เราสามารถบัน ทึกพร้อมกันได้สองเครื่อง เพื่ออะไร เผื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เครื่องมันก็จะป้องกัน play safe ไง อย่างเครื่องนี้คอมพิวเตอร์มันน็อค หรือฮาร์ดดิสก์หยุดทำงาน แต่อีกเครื่องก็ยังรันอยู่ เข้าใจนะมันประมาณลักษณะนี้ ถ้าเป็นงานไลฟ์ซาวด์ก็สบายเลยรู้สึกแฮปปี้...
ส่วนการสรุปผมจะสรูปให้เป็นประเด็นคร่าวๆ เน็ตเวิร์กทั้งหมดเป็นแบบ bi-directional คือสองทิศทาง คือไปและกลับ โดยสามารถใช้ระบบสวิตช์ธรรมดาที่เราใช้ๆ กันอยู่ปัจจุบันซึ่งนำมาใช้ได้ ในส่วนเรื่อง Latency เราสามารถกำหนดการหน่วงหรือห้วงเวลาได้เป็นแบบ fix นะ จะตั้งเป็น 1ms ก็ได้ ปกติเวลาเราเปิดเครื่องปุ๊บเราจะเห็นมันเป็น 1ms บางคนถามว่า ถ้าผมใช้สายต่อสั้นๆ ผมตั้งเป็น 0.5ms ได้มั้ย ระบบเขาเซตค่าเริ่มต้นให้ 1ms เราอยากเซตเท่าไหร่ก็เซตได้ แต่ต้องเซตให้ครบทุกเครื่องนะ ในวงมีทั้งหมดกี่เครื่องก็เซตให้เหมือนกันหมด เหมือนกับผมตั้งนาฬิกาผมก็ต้องตั้งให้ตรงกันหมดทุกคนใช่มั้ย ไม่งั้นอีกคนก็จะตั้งเวลาอีกคนไม่เท่ากันอีกละ คืออยู่คนละวง หากันไม่เจอ...
Network Topology
การเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กก็สามารถทำได้หลายแบบ ไม่จำเพาะต้องต่อเป็นเน็ตเวิร์ก Redundant อะไรแบบนี้เท่านั้นนะ เราสามารถทำ Daisy chain ได้ด้วยนะ อย่างวันนี้ที่ผมบรรยายอยู่นี่ก็เป็นการต่อแบบ Daisy chain คำว่า Daisy chain ก็คือหัวชนหาง หัวชนหาง ไปเรื่อยๆ แบบนี้ เราก็ต่อแบบอิน-เอาต์ไปเรื่อยๆ สำหรับ Daisy chain ก็มีข้อเสีย ส่วนข้อดีคือมันง่าย เหมาะกับใช้สำหรับทดสอบ หรือกับระบบที่ต้องการติดตั้งอย่างรวดเร็ว เพราะสายมันใช้ได้น้อยเส้น ไม่ต้องใช้ฮับสวิตช์ เพราะมิกเซอร์จะทำหน้าที่เป็นฮับสวิตช์ในตัว ปกติพอร์ต Primary และ Secondary ใช่มั้ย พอเราตั้งมันเป็น Daisy chain ปุ๊บ ก็คือเป็นการใช้สองพอร์ตนี้เป็นหางเชื่อมถึงกัน เป็นเหมือนสายตัว U ก็คือจะจั๊มพ์อีกช่องนึงไปหาอีกช่องนึง ไม่ใช่การครอสสายนะเป็นการส่งข้อมูลข้ามจากช่องนึงไปอีกช่องนึง ตรงนี้จะมีจุดที่ทำหน้าที่เป็นฮับสวิตช์เล็กๆ ภายในตัวมิกเซอร์ รวมถึง I/O ด้วยนะ มันจะพ่วงไปเรื่อยๆ การพ่วงแบบนี้เราเรียกว่า Daisy chain ก็คือเข้า-ออก-เข้า-ออก ไปเรื่อยๆ แบบนี้ ส่วนเน็ตเวิร์กที่ผมอธิบายส่วนที่ผ่านมานั้น เขาเรียกว่าเน็ตเวิร์ก Redundant นะ บางครั้งเราเรียกระบบ Redundant ว่า Star แบบปลาดาว เรียกว่าเป็นระบบดาว...
คราวนี้มาดูความแตกต่างเน็ตเวิร์กทั้งสามรูปแบบ อันนี้ก็ใช้ทั้งสามรูปแบบแล้วนะ ถามว่ามันแตกต่างกันยังไง เอาเป็นว่า ดูง่ายๆ ในส่วน EtherSoundและ CobraNet จำนวนแชนเนลทั้งหมดจะได้ไม่เกิน 64 เท่านั้น นั่นหมายความว่าถ้าเราไปใช้ทั้งหมด 128 แชนเนล เราจะ ต้องทำเน็ตเวิร์กสองวง เพราะหนึ่งวงมันได้สูงสุดแค่ 64 เนื่องจากเน็ตเวิร์กของมันรันอยู่บน 128Mbps เท่านั้น เพราะค่าแบนวิดธ์มันไปไม่ถึง เพราะแม็กซิมั่มของมันจะรันได้แค่ 64 เท่านั้นเอง อันนี้เป็นข้อจำกัดของเน็ตเวิร์กเองนะ ไม่ใช่ข้อจำกัดว่าทำไมเสียบได้แค่นี้ เพราะเน็ตเวิร์กมันทำได้แค่นั้นเอง ในส่วนของ Latency ของ CobraNet แล้วแต่เนื้องานนะ อย่างต่ำที่สุดก็เนี่ยแหละ 5.33ms แต่ถามว่ายาวไปมั้ย ก็ยาวอยู่ แต่ถามว่ารับได้มั้ย ก็รับได้ งานไลฟ์ซาวด์ก็พอไปได้ไม่มีปัญหา เพราะเขาใช้กันมาตั้งนานแล้ว ยังใช้ได้อยู่ แต่ในส่วนของ Dante เนี่ยตัว Latency ค่อน ข้างต่ำประมาณ 1ms รันซ้อนกันได้ 4 ชั้นซ้อนกัน ตัวนี้จะมีระบบอีกตัวหนึ่งก็คือ เราไม่ต้องไปรันในระบบของ VLAN ถ้าเกิดว่าเราจะใช้การควบ คุมนะ ตัวนี้เราจะใช้ QoS เป็นตัวแยก เดี๋ยวตอนท้ายๆ เราจะพูดถึงเรื่อง QoS ด้วย ในส่วนการบันทึกเสียงนั้น อย่างใน EtherSound ต้องทำพอร์ตขึ้นมาอีกต่างหาก ไม่สามารถดึงจากสวิตช์โดยตรงมาได้

ในการบันทึกเสียงจะต้องใช้ซอฟต์แวร์อีกตัวนึงคล้ายๆ กัน คือเทคโนโลยีที่รันบน Ethernet หรือสาย LAN นี้มันจะคล้ายๆ กัน บางคนแยกไม่ออกนะ แต่ด้วยโครงสร้างของระบบแล้ว ตัว Dante ระบบมันใหม่กว่ากันเยอะ เดี๋ยวไปดูในช่วงหลังเบรคไปแล้ว ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อเน็ตเวิร์ก EtherSound แต่ว่าโดยโครงสร้างทั่วไปจะคล้ายๆ กัน ซึ่งต้องรันบน ASIO Streamer ตัวนี้จะใช้ DVS จะเห็นว่าสองตัวนั้นแตกต่างกันชัดเจน แต่ว่าตัว EtherSound, CobraNet ไม่มีซอฟต์แวร์สำหรับใช้บนเครื่องแมคอินทอช แต่ของ Dante มี หากสรุปคร่าวๆ เราก็ดูข้อดีของมันก่อนว่ามีอะไรบ้าง คือมีแชนเนลเยอะมากกว่า 64 แชนเนล ถ้าในกรณีงานเราต้องใช้แชนเนลเยอะๆ ตัวนี้จะตอบโจทย์ได้มาก ถ้าใช้แค่สองแชนเนลคงไม่เกิดผลอะไร แต่ถ้าเราใช้เยอะๆ เน็ตเวิร์กใหญ่ตัวนี้ตอบโจทย์เราได้เลย ในขณะระบบ EtherSound, CobraNet มันจะรันอยู่แค่ 100Mbps เท่านั้นเอง แต่ถ้าสังเกตในท้องตลาดสวิตช์จะเริ่มหาไม่ได้แล้วที่รัน 100Mbps แต่ก่อนจะเป็น 10BaseT ก็คือ 10Mbps เดี๋ยวนี้มีคนใช้หรือเปล่าไม่รู้นะ เดี๋ยวผมจะให้ดูหน้าตาของ Dante Controller ว่ามันเป็นยังไง ตัวเครื่องผมต่อกับ CL5 ตัวที่ใช้ประกอบการบรรยายนี้ จะเป็นเวอร์ชั่น 3.02 แต่ปัจจุบันตัวที่ใช้กับ CL5 หรือ QL5 จะเป็นตัวเวอร์ชัน 3.10 รวมทั้งบอก Primary แอดเดรสด้วยนะ อันนี้คือไอพีแอดเดรสนะ (ดูรูปประกอบ) ตัวถัดมาจะบอกเราว่าเป็นสปีด 1Mbps ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามวิ่งมา 100Mbps เช็คสายได้เลยครับ ส่วน Secondary ผมไม่ได้ต่อ มันเลยกลายเป็น N/A ไป เราก็สามารถเช็คสเตตัสได้ว่าตอนนี้ตัวไหนเป็นแม่อยู่
แต่เวอร์ชันใหม่ของ CL/QL มันกดที่หน้าเครื่องได้เลย ซึ่งต้องเป็นเวอร์ชั่น 3 ขึ้นไป มันสามารถกดที่ตัวเองให้เป็น Primary ได้เลย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผมปลด Primary ตัวปัจจุบันนี้ออก ตัวเน็ตเวิร์กก็จะหาประธานคนใหม่ ถ้าเครื่องนี้หลุดหรือดับไป เครื่องถัดไปก็จะหาตำแหน่งว่าจะให้เครื่องไหนเป็นประธาน ระบบจะเกิดการล่มยากมาก แต่ถ้าเป็นหัว BNC หรือหัว เวิร์ดคล็อค คือถ้าหัวเวิร์ดคล็อค มาสเตอร์ตาย ก็ตายทั้งโลกเลยนะ (ฮา) ใช่มั้ย มันเป็นแบบนั้นจริงๆ นะ ระบบมันดูง่าย เราสามารถตรวจสอบได้ง่าย รวมถึงผมดับเบิลคลิกเข้าไป เราก็จะเห็นแบนด์วิดธ์ของเน็ตเวิร์ก จะเห็นตัวรับ ตัวส่ง สเตตัสเป็นยังไง มีการใช้ระบบเน็ตเวิร์กเท่าไหร่ มองเห็นด้วย ยิ่งใช้เยอะ ยิ่งไปเยอะ แล้วก็จะมีการระบุ MAC แอดเดรสของเครื่องหมายเลขอะไร รวมทั้งการเซตค่า Latency ดูสิสายมันสั้นมาก จริงๆ เน็ตเวิร์กตัวนี้สามารถกด Select ให้มันรันที่ 0.5ms ก็ได้ แต่ว่าผมตั้งไว้ในที่นี้เป็น 1ms มันต่ำกว่านั้นได้ 0.3ms หรือ 300-400µsec. จริงๆ มันไปได้เร็วกว่านั้นนะ แต่เราตั้งไว้แค่ 1ms เราสามารถตรวจ สอบได้ เราสามารถดูกระทั่งการคอนฟิก การเซตเน็ตเวิร์ก ตอนนี้เน็ตเวิร์กเองมันทำหน้าที่เป็นสวิตช์ในตัวมันเองนะ หมายความว่ามันจะส่งจากอีกพอร์ตหนึ่งไปหาอีกพอร์ตหนึ่งได้ เข้าอินและออกเอาต์พุตพ่วงออกไปเลย เชื่อมต่อกันได้ ซึ่งผมสามารถพ่วงบอร์ดที่หนึ่งกับบอร์ดที่สองไปออกที่เอาต์พุตเดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องแยกประกอบ คือฝากข้อมูลไปให้อีกเครื่อง ทั้งหมดเป็นเนื้อหาภาคแรกของ Dante เน็ตเวิร์ก เดี๋ยวผมจะให้ดูเรื่องถัดไป ในเรื่องของเน็ตเวิร์กเบสิค
ตอนแรกจะเก็บไว้หลังพัก กลัวจะเครียดกัน เพราะเรื่องนี้มันเครียดจริงๆ เท่าที่เราดูๆ มามันก็อาจจะโอเคสำหรับคนที่รู้มาแล้วมันก็ไม่ยากใช่มั้ยครับ แต่ถ้าเพิ่งมาเริ่มใหม่มันจะเครียดเพราะมันยากจริงๆ ต่อไปผมจะพูดถึงเรื่องของเบสิคระบบเน็ตเวิร์ก แล้วก็จะลามไปถึงเรื่อง YDIF สำหรับคนที่นำไปใช้งานด้านการติดตั้ง ยามาฮ่าออกสินค้ามาตัวนึงชื่อว่า Yamaha Digital Interface หรือเรียกว่า YDIF ซึ่งตัวนี้จะทำ งานโดยใช้สาย LAN แต่แทนที่จะส่งเป็นฟอร์แมต Dante เหมือนคนอื่นก็จะวิ่งบน LAN ตัวนี้จะใช้เฉพาะเครื่องของยามาฮ่าเท่านั้น ถ้าเราใช้กับตัวเครื่องรุ่น MTX, MRX อะไรก็ตาม ถ้ามีพอร์ต YDIF ก็สามารถพ่วงไปหาแอมป์ที่มีพอร์ต YDIF เหมือนกันได้ ไม่ต้องต่อสายข้างนอก เดี๋ยวนี้ก็นิยมกัน ที่ใช้สัญญาณเป็นสายดิจิตอล วัตถุประสงค์หลักอันนี้ผมเพิ่มเติมนิดนึง ผมก็มานั่งคิดว่า ระบบอินเตอร์เน็ตเราเข้าใจกันดีหรือยัง ในนี้มีใครไม่รู้ อินเตอร์เน็ตคืออะไร มีบางคนไม่รู้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดนะ แล้วทำไมต้องรู้เกี่ยวกับเลเยอร์ (Layer)
สำหรับคนที่ทำระบบเน็ตเวิร์ก เรื่องเลเยอร์นี้สำคัญนะ แล้วความแตกต่างระหว่างฮับสวิตช์กับเราท์เตอร์มันต่างกันยังไง ทีนี้ความแตก ต่างระหว่าง Dante กับ Dante หรือว่า AVB ก็ตาม คำว่า AVB มีใครเคยได้ยินมั้ย มันใช้งานบนบรอดคาสต์ใช่มั้ย มันมาจากคำว่า Audio Video Bridging เพราะตอนนี้เริ่มมาฮิตมากขึ้นแล้ว ตามที่ให้ดูตั้งแต่ช่วงต้น ตอนนี้ Dante มันลามปามไปถึงระบบที่ใช้งานร่วมกับ AVB ได้ด้วย คือเป็นเกทเวย์ เรียกได้ว่ามันเริ่มขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ก็สามารถที่จะครอบคลุมทุกธุรกิจการใช้งานในระบบเสียง หรือพวกดิจิตอลบรอดคาสติ้งทั้งหมด คำว่าอินเตอร์เน็ต เราเคยเห็นอุปกรณ์พวกนี้อยู่ใช่มั้ย เคยเห็นครับ หัวแบบนี้เขาเรียกว่าหัว BNC ยังเคยใช้อยู่มั้ย ยังมีอยู่มั้ย หรือสายแบบนี้พวกโคแอคเชียลที่ใช้กับอุปกรณ์บางตัวเนี่ย หรือว่าเดี๋ยวนี้เป็นหัวแปดขากันหมดแล้ว อินเตอร์เน็ตอ่านว่า อีเธอร์เน็ต (Ethernet) เป็นรูปแบบการเชื่อม ต่อโครงข่ายของระบบ ซึ่งเขาพัฒนาเพื่อใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ กี่ปีแล้วครับ ก็ประมาณยุคปี 80 โน่นเลย ผ่านมาหลายสิบปีทีเดียว ซึ่งมาตร ฐานแรกที่ออกมาคือ 802.3 แต่ทุกวันนี้ที่เรารู้จักคือ 802.11 ใช่มั้ย พวกนั้น .11N, .11AC ทำนองนี้ อันนั้นพวก Wi-Fi แต่ว่าระบบตัวนี้เราก็รันคล้ายๆ กัน ตัวนี้ 802 ก็จะใช้รูปแบบของสาย LAN หรือว่าหัว Ethernet ในการเชื่อมต่อ ซึ่งตัวนี้มันจะไปข้องเกี่ยวกับตัว OSI ด้วย
ในส่วนของระบบ 10BaseT เดี๋ยวนี้ไม่เห็นแล้ว น่าจะหายไปจากโลกนี้ สายพวกนี้เราเรียกว่า Twisted pair หรือบางครั้งเราเรียกว่า UTP หรือ FTP… ถัดไปเรื่องเลเยอร์โมเดล คือรูปแบบของการแบ่งชั้นวรรณะ บางครั้งเราเรียกระบบนี้ว่า Open System Interconnection หรือเรียกสั้นๆว่า OSI อันนี้เป็นพื้นฐานของระบบเน็ตเวิร์กนะ ถ้าพูดในวงการเน็ตเวิร์กในวงการเขาจะเข้าใจเหมือนกัน ฟังก์ชันบนเลเยอร์เนี่ยมันก็จะมีรูปแบบ จะเป็นรูปแบบเอาเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายๆ คือเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ ขั้นๆ เวลาอธิบายตรงนี้แล้วเข้าใจยากนะ ควรจะดูรูปประกอบ จะเห็นว่ามันมี Media Layer, Host Layer เป็น Bit เป็น frame เป็น Segment เป็น Data ระบบพวกนั้นเรียกว่าเป็นโฮสเลเยอร์ แต่วันนี้เราพูดถึง 3 เลเยอร์พอ เพราะเราใช้แค่นี้ก็พอแล้วครับ แค่นี้ก็ถือว่ามหาศาลอลังการแล้วครับ ฉะนั้นเลเยอร์ของเสียงจะรันได้แค่ระดับ 1-2-3 เท่านั้น ทำไมเราต้องใช้เลเยอร์ 1-2-3 ปกติ Dante มันสามารถไปโผล่ได้ทั้ง 7 เลเยอร์เลย ถ้าเราเชื่อมต่อเข้าไปปุ๊บมันจะมองเห็นทั้ง 7 เลเยอร์เลย แต่ว่าเราจะรันกันเฉพาะช่วง 1 ถึง 3 เท่านั้น เคยได้ยินมั้ยที่เขาเขียนเอาไว้ว่า L1, L2, L3... เออ... คุ้นๆ หูนะ “L” นี่คืออะไร ก็คือเลเยอร์ไง ฉะนั้นตัวนี้มันสามารถควบคุมการติดตั้งได้ด้วย เราสามารถกำหนดขอบเขตให้วิ่งอยู่ในเลเยอร์ไหนก็ได้ ถ้าจะทำแบบนั้นได้ต้องทำบน managed ตัวสวิตช์เท่านั้น...
ทีนี้ในการส่งข้อมูล พวกดาต้าจะเป็นยังไง อันนี้บน OSI โมเดล บนเครื่องส่ง แล้วจะมี OSI บนเครื่องรับ ตรงนี้จะบอกว่าในส่วนของเครื่องส่ง-รับ จะเชื่อมต่อในรูปแบบที่เรียกว่าฟิสิคัลโพรโตคอล (Physical Protocol) คำว่าฟิสิคัลคือทางกายภาพ แล้วกายภาพคืออะไร ก็การจิ้มต่อ จิ้มไปจิ้มมา ตรงนี้เรียกว่ากายภาพ คือเราสัมผัสได้จับต้องได้ ตอนนี้เมื่อส่งผ่านไปแล้วมันจะเป็นลักษณะของดาต้าลิงค์ (Data Link) แล้วนะ พอมันไปอยู่ในรูปของดาต้าลิงค์มันเป็นข้อมูลไปแล้ว เราจับต้องไม่ได้นะ รวมถึงเมื่อมันรับส่งในรูปของเน็ตเวิร์กโฮสเราท์เตอร์ (Network Host Router) ตรงนี้เรามองไม่เห็นละ สิ่งที่เราจับต้องได้ต้องบนฟิสิคัลเท่านั้น ซึ่งรูปแบบของดาต้ามันจะวิ่งผ่าน จากเลเยอร์ 3 เป็นเลเยอร์ 2 เป็นเลเยอร์ 1 เราแปลงข้อมูลจากแพ็กเกจ (Packet) เป็นเฟรม (frame) จากเฟรมเป็นบิต (bit) แล้วตัวบิตส่งไปในสาย เพราะมันมีแค่ 010101 เท่านั้นใช่มั้ย ซึ่งตัวบิตก็คือเลขฐานสองเป็น 0101010 วิ่งไปปี๊ดเลย แล้วจะมีตัวถอดรหัสกลับมาอีกทีนึง เป็นข้อมูล นี่คือรูปแบบการส่ง เพราะฉะนั้น ในสายหนึ่งเส้นที่เราเห็นเนี่ย ข้างในจะมีฝอยอยู่ประมาณ 8 เส้น ถักเกลียวกันอยู่ เราเรียกสายแบบนี้ว่าทวิตด์แพร์ (twisted pair) เพราะมันพันเกลียวกันทีละคู่
ในส่วนของฟิสิคัลเลเยอร์ นี่คือสิ่งที่เราจับต้องได้ใช่ไหม เราเห็นสายที่เราใช้ทุกวันนี้มันก็เป็นขยุ้มๆ แบบนี้ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่เราจับต้องได้อยู่ ในส่วนของสายที่เป็นฟิสิคัลเลเยอร์ที่เราใช้อยู่ ก็จะเป็นประเภทพวกสายทองแดง บางทีเราก็เรียกว่าเป็นสายแบบ CAT ซึ่งมาจากคำว่า Category ส่วนอีกแบบนึงที่รันบนสายอีกประเภทเรียกว่าไฟเบอร์ออฟติก (fiber optic) ตัวไฟเบอร์ออฟติกมันจะรันในลักษณะโหมด จะมีสองแบบคือซิงเกิลโหมดกับมัลติโหมด สายไม่เหมือนกันนะ มันต่างกันตรงที่ขนาดและความสั้นยาวของคลื่น บางทีเขาเรียกว่าไมโครเมตร ส่วนอีกรูปแบบนึง ที่รับส่งเป็นคลื่นความถี่วิทยุ เช่นอะไร Wi-Fi ไง ตัว Wi-Fi ส่งเป็นคลื่นวิทยุใช่มั้ย มันไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อ ดังนั้นจะอยู่ในรูปของคลื่น วิทยุ ที่เขาบอกว่าอะไรนะ CAT เทเลคอมน่ะ ที่เขาส่งถึงบ้านน่ะ ตรงนั้นส่งผ่านไฟเบอร์ออฟติก เสร็จแล้วตัวไฟเบอร์ออฟติกเราจะนำมาใช้กับการบันทึกข้อมูลได้ไหม ไม่ได้มันต้องมีการแปลงข้อมูลกลับมาให้อยู่ในรูปสายทองแดงเสียก่อน หรือเป็น Wi-Fi นี่คือรูปแบบขั้นตอนการใช้งาน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ก็ต้องเป็นสายแน่นอน ถ้าเชื่อมต่อกันก็ต้องลิมิเตอร์ฮับ หรือว่าถ้าเป็นไฟเบอร์ออฟติกก็ต้องมีโมดูล เป็นซิงเกิลโหมด หรือจะเป็นมัลติโหมด
หน้าตาของไฟเบอร์โมดูลจะเป็นดังรูป นี่คือไฟเบอร์โมดูลนะ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ จะเป็นฮับสวิตช์ทั่วไป เวลาเรามีปัญหากับระบบพวกนี้ สิ่งสำคัญเราต้องดูนะ ดูไฟครับ อันนี้พูดง่ายๆ เลยครับ ดูไฟ อันนี้เป็นระบบพื้นฐานนะ ไม่ต้องเรียนรู้ เสียบเข้าไปไฟไม่ติดแสดงว่าสายมันเสียใช่มั้ย หรือไม่ก็ไม่ได้เปิดเครื่องมีอยู่สองอย่าง เสียบเข้าไปแล้วไฟไม่ติดแสดงว่าสายมีปัญหา เดี๋ยวเราจะมีสายให้ดู เดี๋ยวลองเสียบดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น ช่วงนี้เป็นช่วงทดสอบลองของ อันนี้เราเห็นไฟมันแว๊บๆ มันลิงค์อยู่แสดงว่า สัญญาณข้อมูลเริ่มวิ่งแล้ว แต่บางเครื่องมันจะเขียนว่า 1G ถ้าหากมันเขียนว่า 1G เสียบสายแล้วไฟไม่ติดแสดงว่าสายใช้ไม่ได้ เพราะเรารันที่ 1 กิกะบิตใช่มั้ย ถ้าใช้ไม่ถึง 1 กิกะบิตได้มั้ย... ไม่ได้... แต่แชน เนลน้อยๆ ได้มั้ย... ได้... เพราะมันวิ่งข้อมูลสองแชนเนลก็โอเค แต่ถ้าวิ่งเป็นร้อยแชนเนลไม่ได้ เพราะฉะนั้นหลักการง่ายๆ ให้เช็คดูไฟ ตรวจสอบสายที่เสียบ และมีคำแนะนำอีกอย่างในการใช้งานสายพวกนี้ มันเป็นขั้วทองแดงใช่มั้ย บางทีมันชุบทองด้วยนะ ทองเค อะไรทำนองนี้ พวกนี้มันติดสนิม บางทีขี้ฝุ่นมาอยู่ บางทีมีอะไรต่ออะไรมาติดอยู่นะ ต้องทำความสะอาดก่อน บางทีอาจจะใช้ได้ ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องตัดทิ้งแล้วทำใหม่ แต่ว่าบางครั้งการวางระบบของเราเองเนี่ย บางทีจะเกิดระบบนึงที่เรียกว่ากราวด์ชนกัน อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกันเยอะๆ มันต้องเกิดการชนกันแน่นอน เพราะอะไรมันถึงชนกัน ใครบอกนะ บางทีต่อสวิตช์หลายๆ ตัว ในออฟฟิศบางทีก็ยังเป็นก็คือเน็ตเวิร์กชนกัน

ทำไงถึงไม่ให้ชน เคยไปสี่แยกแถวๆ นี้มั้ย แยกแบบนี้โอกาสที่จะชนกันจะเกิดมั้ย มีตัวกลมๆ อยากไปทางนี้ แต่อีกกลมๆ อยากไปอีกทาง โอกาสจะเจอกันมีมั้ย โอกาสจะพบปะสังสรรค์กันมากๆ มีมั้ย ทำไงจะไม่ให้มันชนกัน ระหว่างนี้มีผู้อบรมตอบว่า ใช้ระบบไฟเขียว ไฟแดงแก้ ปัญหา วิทยากรตอบว่า อันนี้ยังแก้ปัญหาไม่ถาวร ถ้ามีการเจาะเลนให้วิ่งแบบทางใครทางมัน ไม่เจอกันแน่นอน ปัญหาระยะยาวก็จบไป วิธีนี้เขาเรียกว่าการจัดการ หรือเรียกว่า managed ซึ่งสวิตช์มันทำแบบนี้ได้ มันไม่ใช่เอามาเสียบจั๊มรวมกัน มันสามารถเบิกทิศทางได้ด้วย อันนี้กำลังอธิบายเกี่ยวกับ managed สวิตช์มันทำงานยังไง
ทีนี้มาดูเรื่องสายนิดนึง เมื่อกี้ผมพูดเรื่องสายทวิตด์แพร์ใช่มั้ย สายแบบนี้ที่เราเห็นทั่วไป ที่เราไปซื้อมาเมตรละ 10 บาท เดี๋ยวนี้ 10 บาท แต่ก่อนราคาเมตรเป็นร้อยเลย ถูกกว่าสิบเท่าเลยแปลกมั้ย อุปกรณ์พวกนี้สายเยอะเลย เราใช้สายชีลด์ดีๆ คุณภาพสูงๆ พวกออดิโอเกรดนี่ เมตรเท่าไหร่ อาจจะเป็นพันใช่มั้ย เป็นร้อยเป็นพันแต่อันนี้แค่ 10 บาท สายที่เราใช้กันแบบนี้เขาเรียกว่าสาย UTP คือสายอันชีลด์ คือไม่มีการชีลด์ สายตัวนี้มีราคาถูก ใช้งานได้ดีในระยะไม่ไกลมาก ในที่ที่ไม่มีสัญญาณรบกวนเยอะ อย่าลืมนะการส่งข้อมูลยังมีไฟฟ้าวิ่งอยู่ในสายอยู่ถูกมั้ย ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดการรบกวนจากสัญญาณภายนอกอาจจะมีมั้ย อาจจะมีนะ แต่ก็แก้ด้วยการใช้เกราะป้องกันโดยใช้ชีลด์ เราก็ใช้สายที่เรียกว่าชีลด์ทวิตด์แพร์ สังเกตว่าการชีลด์เราจะมีเปลือกหุ้มมัน มีสายชีลด์เข้ามาจะเรียกว่ามีสายเรียงกราวด์ ซึ่งตรงนี้ผมแนะนำให้กับระบบเสียงที่ต้องใช้ ที่แนะนำแบบนี้เพราะไม่รู้ว่าเราไปต่อโดนรางปลั๊กไฟอะไรต่างๆ อาจจะมีสัญญาณรบกวนเข้ามาได้ แล้วจะมาบอกว่าระบบเราไม่ดี หรือเครื่องเราไม่ดี บางทีมันอยู่ที่พื้นฐานของระบบ
คราวนี้มาดูเรื่อง Category หรือลำดับขั้นของสายเนี่ย มันจะมีเรื่องของ CAT5 เคยได้ยินมั้ย CAT5 ไม่รู้ซื้อมา แต่ที่ร้านบอกว่า CAT5 ตรงนี้เขียนว่า "Category 5e Cable" อันนี้เรียกว่า CAT5e ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเป็น CAT5 ธรรมดาจะรองรับได้แค่ 100Mbps ตรงนี้คือค่าสูงสุดนะ ถ้าจะรันแค่ 10Mbps หรือ 10BaseT ได้มั้ย ได้นะ แต่ถ้าเป็น CAT5e จริงๆ มันวิ่งได้ถึงระดับ 1 กิกะบิต แล้วนะ ฉะนั้นผมถึงเอามาลิงค์ได้ไง อันนี้ต้องดูสเป็กมาก่อนนะ ก่อนที่จะใช้ เวลานำมาใช้พอเสียบปุ๊บแล้วมันขึ้น 100Mbps แสดงว่าใช้ไม่ได้ เสียบปุ๊บรู้เลย เสียบที่ไหนล่ะ เสียบที่คอมพิวเตอร์ก็ได้ เพราะไม่มีเครื่องวัด มีเครื่องวัดตัวเหลืองๆ เนี่ย ราคามันแพงนะ เป็นหมื่นเหมือนกัน เอาคอมพิวเตอร์มาเสียบก็ได้ มันก็ขึ้นเหมือนกัน มันก็จะบอกว่าเป็น 100Mbps หรือเป็น 1G เราจะเห็นเลย
ส่วนตัวถัดไปเป็น CAT6 เดี๋ยวนี้ตัว CAT5 เริ่มน้อยลงแล้วนะ คนเริ่มหันมาใช้ CAT6 เพราะราคาเท่ากัน เหมือนกับไอโฟน 5 กับไอโฟน 6 ราคาเท่าเดิม ตรงนี้ก็สามารถรันได้ถึง 1Gbps เหมือนกัน แต่ CAT6 บางตัวผ่านได้ถึง 10Gbps ก็มี แล้วแต่ยี่ห้อแล้วแต่ประเภทของสาย แต่ข้อ ดีของ CAT6 คือ เขาจะมีเปลือกอีกชั้นนึงดูดีๆ นะ จะมีเดือยตรงกลาง บางรุ่นมี บางรุ่นไม่มี ช่วงนี้วิทยากรนำสาย LAN มาโชว์ แล้วกล่าวว่า สีขาวคือ CAT5 สีน้ำเงินคือ CAT6 ถ้าสัมผัสแล้วดูเหมือน CAT6 สายมันจะแข็งกว่าใช่มั้ย เพราะว่ามีเดือยตรงกลาง หน้าที่มันคือกันสายไม่ให้ติดกัน ตามทฤษฎีนึงเขาบอกว่า ถ้ามีไฟฟ้าวิ่งผ่านจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบๆ โลหะตัวนำ เพราะฉะนั้น ถ้ามันอยู่ใกล้ชิดกันมากๆ มันจะเกิดการครอสทอล์ค (Crosstalk) สัญญาณวิ่งข้ามกัน เคยได้ยินคำว่าครอสทอล์คมั้ยครับ แปลว่าไร... เหมือนเราอยู่บ้านใกล้ๆ กันข้างห้อง เขาคุยกันเราก็ได้ยินด้วย แบบนี้เรียกว่าเกิดการครอสทอล์ค เพราะข้อมูลมันรั่วมาอีกฟากนึง การส่งข้อมูลก็ต้องควรแยกขาดจากกันนะครับ ตรงนี้ก็จะแก้ปัญหาการเกิดครอสทอล์คได้โดยกันให้มันห่างๆ กันซะ หรือใช้ฉนวนกัน ซึ่งแล้วแต่วิธีการ สำหรับ CAT5 กับ CAT6 ตัว CAT6 จะลากได้ไกลกว่า ถ้าจะให้แนะนำ ผมแนะนำ CAT6 นะ ถ้าให้ดีมีชีลด์หน่อยก็ดี อันนี้แนะนำเวลาไปทำงานติดตั้งระบบหรือว่าเอาไปใช้งานเอง ตัวใหม่กำลังจะมานะ CAT7 รันกันที่ขั้นต่ำ 10Gbps แต่ตัวนี้สังเกตว่าความถี่ที่เรารับจาก 250MHz เป็น 650MHz วิ่งขึ้นไป 2 เท่าเลย ตรงนี้ก็จะดีกว่า CAT6 อีก แต่เชื่อว่าราคาน่าจะแพงกว่า ตรงนี้แล้วแต่กำลังทรัพย์ที่ใช้งานนะ ยังไงสายดีๆ ก็ได้เปรียบกว่า.
คราวนี้มาดูเรื่องเลเยอร์ 2 ก็คือ Data Link Layer เมื่อกี้เลเยอร์ 1 ผ่านไปแล้วนะ ซึ่งเลเยอร์ 1 คือสิ่งที่เราจับต้องได้โดยเป็นเรื่องของหหสาย สำหรับเลเยอร์ที่ 2 เริ่มขึ้นไปอีกขั้นนึง เราเรียกว่ามันวิ่งผ่านในเน็ตเวิร์กสวิตช์ สัมผัสได้แค่ตัวมัน แต่สิ่งที่อยู่ข้างในมองไม่เห็น เราจะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์เข้าไปตรวจดูเท่านั้น หรือว่าดูไฟ ดูไฟเนี่ยอาจจะได้แค่ว่ามันทำงานหรือไม่ทำงานถูกมั้ย อันนี้เป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น ตัวนี้จะเริ่มรันในระบบที่เรียกว่า MAC แอดเดรส แต่ละเครื่องจะมี MAC แอดเดรสของตัวเอง ไม่มีซ้ำกัน แต่ละคนตั้งชื่อซ้ำกันมั้ยในประเทศไทย มีโอกาสใช่มั้ย แต่ถ้าชื่อกับนามสกุลซ้ำกันนี่ถือว่าแปลกมั้ย แสดงว่าสำนักทะเบียนราษฎร์มีปัญหา แปลว่าระบบ MAC แอดเดรสเริ่มมั่วๆ ปกติต้องมีคนใดคนนึง ไม่ซ้ำกันนะ ตอนนี้เราไม่พูดถึงทางเลเยอร์ 1 ละ เพราะตรงนี้มันไม่มีสายทองแดงแล้ว มีแต่ไฟวิ่ง แต่ต้องเสียบปลั๊ก โอเค คราวนี้มาดูว่า MAC แอดเดรสคืออะไร MAC ย่อมาจากคำว่า Media Access Control Address หรือ MAC แอดเดรส ตัวนี้เป็นชื่อของอุปกรณ์แต่ละชิ้น
ถ้าเป็นโทรศัพท์มือถือเราเรียกว่าอะไร IMEI Code ซึ่งทั้งคู่จะคล้ายๆ กัน คือทุกเครื่องจะมีเลขของตัวเอง ในโลกนี้จะไม่ซ้ำกับใครทั้งปวง ตรงนี้จะมีมาตรฐานกำหนดของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง บางทีเขาเรียกว่า Physical Address เห็นมั้ย ตัวนี้จะเป็นตัวเลขฐานสิบหก ซึ่งจะมีเลข 6 ชุด หรือเรียกว่า 6 byte จะใช้ระบุตัวคอมพิวเตอร์ นั่นหมายความว่า ถ้าเราไปเข้าเว็ปอะไรที่เขาห้ามเข้าเนี่ย หรือเราส่งภาพอะไรที่เขากำลังจะจับกันอยู่ตอนนี้ เขาจะรู้เลยว่าเราเป็นใคร เพราะคอมพิวเตอร์ของเรามันมีชื่อเฉพาะ หรือเรียกว่า MAC แอดเดรส อันนี้ผมบอกไว้นะ เวลาจะส่งรูปหรือแชร์รูประวังนิดนึง ตรงนี้เขาจะรู้เลยว่า เราเป็นใครอยู่ที่ไหน เพราะว่าจากการสืบค้น MAC แอดเดรสเลยรู้ว่า MAC แอดเดรสนี้เป็นคนเข้า เสร็จแล้วมันก็จะเราท์ติ้งไปหาว่าไอพีหมายเลขอะไร อยู่บ้านไหน อยู่ตำบลไหน มันก็จะดิ่งมาที่ตัวทันที ชัดมั้ย เริ่มหวาดเสียวกันเล็กๆ ฉะนั้น MAC แอดเดรสเมื่อมันอยู่ในเน็ตเวิร์กเนี่ย ทุกคนย่อมสามารถตรวจสอบได้ว่ามันมีใครบ้าง ในวงเน็ตเวิร์กหนึ่งวงนั่นทำให้เขารู้ว่าหมอนั่นเป็นใคร เคยแปลกใจมั้ยว่ามันหาได้ยังไง เพราะ MAC แอดเดรสนี่แหละ ซึ่ง MAC แอดเดรสก็จะไปปรากฎอยู่ในเรื่องของ OSI โมเดล ที่ผมพูดไปในตอนแรก...
เริ่มรู้สึกมั้ยว่า OSI มันสำคัญ เวลาแก้ปัญหาเน็ตเวิร์กเลเยอร์ 2 ทำยังไง อันนี้ผมพูดถึงเรื่องการแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ เพราะว่าส่วนใหญ่เราเป็นคนทำงาน แล้วเราต้องเจอปัญหา ถ้าคนไม่ทำก็ไม่เจอ ถัดมาเป็นอะไร รีเซตเลยดีมั้ย บางทีคิดว่าจนปัญญาแก้ปัญหาก็รีเซตซะเลย แล้วตั้งใหม่ ใช้ไม่ได้นะ เราต้องตรวจสอบว่าที่เราเซตไปนั้น ถูกต้องหรือเปล่า เราทำอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า ซึ่งสิ่งสำคัญในการวางระบบหรือการทำระบบเนี่ย เราต้องมีการจัดสะพานข้ามแบบเมื่อสักครู่ ประเด็นเรื่องสี่แยกนั้นนะ นึกออกมั้ยเราต้องจัดทิศทาง ไม่ใช่มีทางข้ามปุ๊บ เส้นนี้ย้อนทางได้ ชนกันอีก เรียบร้อยมั้ย อันนี้ต้องจัดการระบบ ในระบบสวิตช์ที่เราจะจัดการไม่ให้มันเกิดการชนกันนั้น มันมีวิธีการนะครับ ซึ่งต้องใช้ เลเยอร์ 2 ขึ้นไป เราจะใช้เฟรม โดยกำหนดให้เซตใดเซตนึงได้ โดยการกำหนดทิศทาง ซึ่งสวิตช์จะอ่านข้อมูลแล้วส่งข้อมูล อันนี้เป็นวิธีจัดการของข้อมูลแอดเดรส
ส่วนกรณีที่เป็นเลเยอร์ที่ 3 อันนี้เป็นเลเยอร์ขั้นสูงหน่อย จากเลเยอร์ที่ 3 ในส่วนนี้ MAC แอดเดรสไม่เกี่ยวแล้วนะ แต่เลเยอร์ 3 จะไปพูดถึงเรื่องอะไร เรื่องไอพีแอดเดรส (IP Address) เริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เป็นมหภาคขึ้นเล็กน้อย ไอพีแอดเดรสเป็นเรื่องของการกำหนดทางลอจิคัลเน็ตเวิร์ก เป็นลอจิกก็คือจับต้องไม่ได้นะ ซึ่งลอจิกจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขล้วนๆ เลขนี้เป็นเลขอะไร อยู่หมู่บ้านไหน ตำบลไหน อำเภอไหน จังหวัดไหน โดยใช้ ซับเน็ตมาส์ค มาทำให้ระบบเสถียรมากขึ้น ทีนี้เรามาเรียนรู้เรื่อง ซับเน็ตมาส์ค (Subnet Mask) นิดนึง รูปแบบการกระโดดข้อมูลจากจุดนึงไปหาอีกจุดนึง จะต้องกำหนด ซับเน็ตมาส์ค ให้มัน ซับเน็ตมาส์ค ก็คือจะมีไอพีแอดเดรสด้วย (ดูภาพประกอบ) ไอพีแอดเดรสก็คือตัวเลขที่พูดถึงเมื่อสักครู่ ถัดมาเป็น ซับเน็ตมาส์ค ตัวเลข 255.255.255.0 เราใช้ที่ไหน... ใช้ที่บ้านไง... ฮับที่บ้านหรือ Wi-Fi ที่บ้าน ใช้เลขนี้หรือเปล่า ถ้าใช้เลขอื่นจะใช้ไม่ได้ เน็ตที่บ้านจะใช้ไม่ได้เลย ลองไปป้อน 255.000. ดูสิ อะไรจะเกิดขึ้น เน็ตหาย เน็ตเข้าไม่ได้นะครับ อันนี้คือ ซับเน็ตมาส์ค เดี๋ยวจะให้ดูเรื่อง ซับเน็ตมาส์ค คืออะไร นี่เจาะลงลึกทีเดียวนะ ถ้าลึกไปบอกได้นะ โหวตได้นะ ตัวไอพีแอดเดรสมันอยู่ใน ซับเน็ตมาส์ค ไง ทีนี้หากถามว่า ซับเน็ตมาส์ค เรานำมาใช้อะไร มันมีอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ Security เรื่องที่สองคือ Efficiency…
เรื่อง Security สมมติว่าผมส่งข้อมูลให้คนนี้ แต่อีกสองคนที่อยู่แถวๆ นั้นไม่มีโอกาสรู้ข้อมูลของผมเลย เพราะมันอยู่คนละ Group กัน ถ้าส่งไปอีกลักษณะ อีกสองคนก็ไม่รู้อีกเพราะเป็นคนละ ซับเน็ตมาส์ค กันทำให้ระบบมีความเสถียรมากขึ้น เคยเห็นเลขนี้มั้ย อันนี้พูดให้ฟังคร่าวๆ อย่าไปเครียด แต่บทสรุปของเราเลข 255.255.255.0 ตั้งที่บ้านนะ ต้องเป็นเลขนี้นะ อย่าไปตั้งเป็นเลขอื่น ไม่งั้นใช้ไม่ได้นะ ส่วนตัวคลาสก็จะมีแบ่งเป็นลำดับชั้นอีก เป็นคลาส A, B, C ส่วนใหญ่ที่เราใช้จะอยู่ในคลาส B ที่เราใช้ตามบ้านเราอยู่ในคลาส C เอะแล้วมันแบ่งยังไงหว่า เดี๋ยวให้ดูนะ ซับเน็ตมาส์ค เราจะรู้ได้ไงครับ เน็ตที่ใช้ตามบ้านคือ 255.255.255.0 มีความเป็นไปได้ 256 ชิ้น คอมพิวเตอร์ที่บ้านมีถึงมั้ย 256 เครื่องมีถึงมั้ย ถ้ามีไม่ถึงก็ใช้ได้ แต่ถ้ามีมากกว่านั้นยังไง สมมติบ้านผมมีคอมพิวเตอร์ 300 เครื่องหรือ 400 เครื่อง ทำไง ซับเน็ตมาส์ค 255 ใช้ได้มั้ย ไม่ได้ละ แต่เน็ตเวิร์ก Dante มันรันบนระบบประมาณ 255.255.255.0 ถ้าใช้เน็ตเวิร์ก Dante ถ้าไม่ขึ้นเลขนี้ใช้ไม่ได้ โอเคมั้ย ชัดมั้ย ผมไปคิดเล่น ผมมีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน 400 เครื่อง ทำไงให้คำนวนได้ 400 เครื่อง 255 ตามบ้านที่จริงมันคือ 254 เองนะ มันไม่พอ เราอยากได้ 400 ทำไง ถ้าผมใส่แอดเดรสเข้าไป 00 เนี่ยได้ประมาณ 65,000 ชิ้นอุปกรณ์ เกินไปมั้ย ทำไงให้มันได้ ผมคิดว่าแค่ 500 พอมั้ย ถ้าตั้ง 500 มันครอบคลุม 400 ได้มั้ย ถ้า 255 มันได้ 254 ผมเติมไปอีก 1 หลักให้มัน มันจะได้มั้ย ได้สิ คิดแบบนี้ ผมก็ปัดเศษตรงนี้ จากกำลัง 8 ให้เป็นกำลัง 9 ไป เลขฐาน สองนะ เป็นฐานสิบหก แต่เลขที่เราเห็นเนี่ยเขาเรียกว่าเป็น Hexadecimal เป็นฐานสิบแปลงเป็นฐานสิบหก อันนี้เป็นทฤษฎีพื้นฐานนะคิดเล่นๆ อย่าไปคิดมาก จำง่ายๆ เน็ตเวิร์ก Dante มันจะรันอยู่ประมาณนี้ 255.255.0.0 ถ้าไม่ใช่เลขนี้มีปัญหา


เนื่องจากมันเป็นระบบเน็ตเวิร์กมันหนีตัวเลขไม่พ้น ผมก็ไม่อยากพูดถึงตัวเลขเท่าไหร่ พูดแล้วปวดหัว แต่ผมพยายามย่อสรุปคร่าวๆ ให้ดู ให้เห็นภาพมากขึ้น ทีนี้เข้าใจยังว่า MAC แอดเดรสคืออะไร, ไอพีแอดเดรสคืออะไร แล้ว ซับเน็ตมาส์ค คืออะไร... เห็นมั้ยว่ามันแตก ต่างกัน สมัยก่อนแรกๆ ผมเข้ามาเล่นระบบเน็ตเวิร์กใหม่ๆ ผม “งง”มากเลย ทำไมแกต้องมีตั้ง 3 ตัวในชีวิต... “งง” มากเลย เราเลยค่อยๆ แยกทีละเรื่องออกมา เรื่อง MAC ก็เรื่องนึง เรื่องไอพีก็เรื่องนึง แล้วก็ ซับเน็ตมาส์ค มีคนถามว่า ทำไมต้องใส่ ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เวลาเราเคาะๆๆ ไป ตำแหน่ง ซับเน็ตมาส์ค มันจะตั้งให้เราเอง 256 อัตโนมัติทุกครั้ง ถามว่าทำไมเราถึงไม่ตั้งเอง ในบางครั้งในบางกรณี แต่เน็ตเวิร์ก Dante ไม่ต้องตั้งนะ มันทำของมันเอง เดี๋ยวจะให้ดูนิดนึงว่า เน็ตเวิร์ก Dante มันเป็นยังไง จะเห็นว่ามันจะโชว์รายละเอียดต่างๆ เช่น MAC แอดเดรสเครื่อง ไอพีแอดเดรส และ ซับเน็ตมาส์ค จะเห็นว่ามันเป็น 255.255.0.0 ทำไมมันเป็น 0.0 เพราะอะไร ดูปุ๊บรู้เลยว่ามันเป็นเน็ตเวิร์กของอะไร ของ Dante ใช่มั้ย เห็นมั้ยง่ายมากเลย เราแค่มองปุ๊บ รู้เลยว่าเครื่องนี้เสียบกับเน็ตเวิร์ก Dante อยู่ 169.254 นี่คือ Primary แอดเดรส ง่ายมั้ย ให้จำคร่าวๆ Primary แอดเดรสของ Dante คือ 169.254 ส่วน ซับเน็ตมาส์ค คือ 255.255.0.0 ...จบ แค่นี้พอ ไม่ต้องจำเยอะ นี่คือการทำงานของระบบเน็ตเวิร์กของมันนะครับ

คำถาม เรารันออโต้โหมดเป็น DHCP ได้ไหม... คำตอบ “ได้” คำว่า Dynamic Host Control Protocol คือมันทำหน้าที่ยืดหยุ่นลูกข่ายจัดชื่อหมายเลข แจกเบอร์อัตโนมัติ เมื่อเราตั้งให้ DHCP มีค่าเป็น On เมื่อไหร่ หมายถึงระบบแจกไอพีอัตโนมัติ แต่ถ้าเราจะกำหนดเอง fix ได้ไหม ได้ อย่างผมบอกว่าแอดเดรดเบอร์นี้เซตแล้วคือเครื่องนี้ ฉะนั้นเครื่องอื่นมันจะวิ่งไปหาเลขอื่นมันจะไม่เอาเลขนี้ เพราะมีคนจองไว้แล้ว จองคิวไว้แล้วว่างั้นเหอะ กำหนด fix ได้ ไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่ถ้า fix แล้วหาเลขไม่เจอก็เหนื่อยหน่อย แต่ตัว DHCP มันก็สามารถรันระบบได้ค่อนข้างดีพอสมควร ผมทดสอบมาระยะใหญ่ๆ แล้ว ก็ถือว่าโอเค แต่ถ้าอยากจะฟิกซ์ ก็ทำได้ แต่ต้องรู้นะครับว่าวงนี้คือ Primary ไม่ใช่ Secondary ถ้าเครื่องนึงเป็น 169 อีกเครื่องเป็น 172 อันนี้ไม่ใช่ นี่คือมันเป็นคนละวงกันนะ มันแยกและกำหนดหมวดหมู่ด้วยตัวเลข ไม่ได้แยกด้วยสีของสายไฟ ไม่ได้แยกตามหัวสี ไม่ได้แยกแบบนั้นแล้ว ยุคนั้นเราไม่พูดถึงแล้ว ตอนนี้เรากำลังพูดถึงลอจิคัล คือการส่งข้อมูลตัวเลขเป็นหลักใหญ่ ค่อยๆไปนะ เนื่องจากว่าวันนี้เรามีหลายกลุ่ม มีทั้งกลุ่ม โปร ซุเปอร์ยูสเซอร์ เอ็นด์ยูสเยอร์ มีหลายระดับชั้น...
Unicast & Multicast
ต่อไปเรื่อง Unicast และ Multicast ผมเกริ่นไปช่วงแรกๆ ก่อนหน้านี้ คำว่า Uni หมายถึงหนึ่งเดียว ดังนั้นคำว่า Unicast จึงหมายถึงส่งไปที่เดียว ไปที่จุดเดียว Multicast ส่งไปหลายๆ จุด หลายจุดไม่ใช่ทุกจุดนะ ถ้าส่งไปทุกจุด สมมติผมพูดแล้วส่งไปหาทุกๆ คน อย่างนี้เรียกว่าการส่งแบบบรอดคาสต์ ซึ่งการส่งแบบนี้มันใช้ข้อมูลเยอะมั้ย ทราฟฟิคที่วิ่งในสายเยอะ เราก็ต้องมาคำนวณกันว่ามันใช้เท่าไหร่ ไม่ใช่ใช้เท่านี้จ่ายมาหมดเลย เหมือนกระเป๋าไม่ต้องจัดหนังสืออ่ะ แบกทุกวิชาไว้ในกระเป๋า แล้วก็แบกไปทุกวัน ฉะนั้นในเลเยอร์ 1 ก็จะมีผลแบบเดียวกัน ในเลเยอร์ 2 สามารถจะกำหนดทิศทาง หรือว่าการกำหนดระดับชั้นหรือว่าเทียร์ ก็คือลำดับตามจุดได้ ทิศทางการไหลของข้อมูลน่ะ จะให้ไปตรงไหนเป็นตรงไหน ที่ผมทำให้ดูเมื่อสักครู่ มันวิ่งจากหนึ่งจุดไปหาหนึ่งจุด ไปหาอีกจุด เรียกว่า Multi-Unicast ไม่ใช่ Multicast แตกต่างกันนะ ดูดีๆ Multicast กับ Unicast ก็แยกกัน ส่วน Multi-Unicast (XCast) ก็แยกต่างหากไม่เหมือนกัน เพราะปกติมันเส้นเดียวกันใช่มั้ย คราวนี้ก็แตกตัวออกไป แต่ตัวนี้หนึ่งเส้นส่งไป หนึ่งเส้นส่งไป ตัวนี้จะกินแบนด์วิดธ์มากกว่าจริงมั้ย เพราะเรากำหนดเส้นนึงไปหนึ่ง ไปสอง ไปสาม แล้วไปสี่ รวมแล้วมันแยกสี่เส้นใช่มั้ย เอาล่ะเรามึนกันอยู่แค่จุดนี้ก่อน เดี๋ยวเราไปพักเบรคผ่อนคลายนิดนึงก่อน แล้วเดี๋ยวเรามาต่ออีกห้วงหนึ่งในเรื่องซิงโครไนซ์จะทำยังไง…
เรื่องซิงโครไนซ์จะทำให้อุปกรณ์ทำงานร่วมกันโดยที่ไม่เกิดปัญหา เวลาเปิดเสียงส่งไปตามแต่ละจุดจะไม่มีเสียงกุ๊กกิ๊กๆ และต้องมีอุปกรณ์หนึ่งตัวทำหน้าที่เป็นมาสเตอร์ เวิร์ดคล็อค หรือเป็นตัวแม่ ซึ่งจะใช้สายเส้นเดียวในการลิงค์สัญญาณมาหากัน แล้วส่งไปยังเครื่องอื่นๆ ออกไปยังปลายทาง ในการเชื่อมต่อสายเป็นห้วงๆ ซึ่งเราต่อสายเป็น stack แบบนี้ ซึ่งการต่อเป็นห้วงๆ มันอาจจะหน่วง แต่เราก็แก้ได้ สัญญาณจะส่งไปอีกเครื่อง แล้วมันจะส่งต่อไปเครื่องอื่น ซึ่งสังเกตว่าผมจะเชื่อมต่อตัวบนกับตัวล่าง เพราะคู่บนคือบอร์ดที่หนึ่ง ส่วนคู่ล่างคือบอร์ดที่สอง แต่ผมให้ลองฟังดู แล้วดูว่าเสียงมันเพี้ยนมีมั้ย แล้วในเรื่องความดังคงที่ ผมตั้งไว้ที่ 0.0 หมายความว่า ตัวหนึ่งจะส่งเท่าไหร่มันจะต้องเท่ากัน ฉะนั้นข้างซ้ายหรือข้างขวาจะไม่มีใครดังเบากว่ากัน
อันที่สอง การดีเลย์ของสัญญาณ อันนี้จะส่งข้างขวาอย่างเดียว อีกฝั่งจะส่งไปยังข้างซ้ายอย่างเดียว จากเครื่องเล่นตัวเดียวกันด้วย ก่อนที่จะไปถึงเรื่อง เวิร์ดคล็อค ผมจะให้ฟังอีกหนึ่งเพลง ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะจะโคน จากนั้นวิทยากรได้เปิดเพลงให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฟัง เสร็จแล้ว วิทยากรบรรยายต่อว่า... หน่วงมั้ย... ฟังไม่ออก... คราวนี้ลองย้ายสายสัญญาณ ตัวแรกเป็นซ้ายขวาของบอร์ดที่หนึ่ง คราวนี้ลองฟังจากบอร์ดที่สอง เป็นยังไงรู้สึก “งงๆ” มั้ย ช่วงนี้จะเป็นการสาธิตด้วยเพลงเดิม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเช็คว่ามีความแตกต่างอะไรหรือไม่ จะได้เข้าใจคำว่า same time เป็นไงบ้างรู้สึกงงๆ มั้ย วิทยากรถาม การดีเลย์มันนิดเดียวเองนะ มันประมาณระดับ ms ซึ่งน้อยมากๆ ฟังแทบไม่ออก คือมันจะมีสองเครื่อง เครื่องนึงจะทำหน้าที่เพลเยอร์ อีกตัวจะทำหน้าที่รับอย่างเดียว แล้วถึงจะมาเพลย์ ขณะเดียวกันมันตกไปเส้นนึง แล้วมาผ่านลูปในเครื่องนี้แล้วค่อยออกไป บางคนบอกว่าที่ต้นเครื่องไม่ได้ดีเลย์ครับ ผมกำลังจะบอกว่า ตัวเพลย์เป็นอีกเครื่องแล้วมันลูปผ่านมาอีกเครื่อง แล้วลูปเน็ตเวิร์กก็ออกมาที่นี้อีกด้วย มันไม่ได้ผ่านแค่คลื่นเสียงอย่างเดียว มันผ่านเน็ตเวิร์กด้วย ซึ่งการส่งที่สาธิตให้ดูเป็นรูปแบบการส่งแบบซิงโคร ไนซ์ แต่อีกตัวที่เราใช้ในระบบทั่วไป เราจะใช้ตัวที่เรียกว TDM ระบบของ TDM เนี่ย มันจะใช้ในรูปแบบของเน็ตเวิร์ก CobraNet และพวก Ether Sound ยังใช้อยู่ ตัว MADI ก็ยังใช้อยู่ เรียกว่า Time Division Multiplexing พวกนี้ไม่ว่าจะเป็น CobraNet และพวก EtherSound รวมถึง AES50 จะยังใช้ระบบนี้อยู่ ถ้าไปเจอบอร์ดตัวไหน ที่ด้านหลังบอร์ดเขียนว่า AES50 หรือว่าเอาต์ที่เป็นหัว LAN แล้วเขียนว่า AES50 อันนั้นเรียกว่าเป็นรูปของ TDM ทั้งสิ้น
ทีนี้รูปแบบของ TDM แตกต่างยังไงกับรูปแบบ Packet สำหรับ TDM มันเก่งนะ มันจะใช้วิธีการแบ่งเวลาเป็นห้วงๆ นี่คือข้อมูล 1 ไบต์ และอีก 1 ไบต์ แต่ส่งข้อมูลเป็นเส้นเดียว แล้วก็จะมี เวิร์ดคล็อค กำกับ แต่ไอพีตัว เวิร์ดคล็อค มันไม่สนใจ มันสนใจเฉพาะตัวดาต้าที่ส่งไป มันเป็นระบบ IP Base ตรงนี้เริ่มมีเครื่องหมายคำถามกันละ เริ่มอยู่ในช่วง Silent โหมดกัน อันนี้ระบบที่มันแตกต่างกันคือเรื่องของโครงสร้าง มันเป็นระบบ IP มันสนใจเฉพาะข้อมูลกับ IP เท่านั้น ไม่สนใจห้วงเวลา ส่วนเรื่อง AVB อันนี้มีคนถามเยอะ สงสัยกันเยอะเลย เดี๋ยว AVB เอาไว้คุยกันอีกช่วงละกัน ที่จะคุยกับทาง ออดิเนท แต่ว่าจะเกริ่นแค่คร่าวๆ ก่อน ตัวเมื่อกี้ผมพูดถึงเรื่อง PPP คือ เวิร์ดคล็อคซิงค์มันคือมาตรฐาน 802.1as ส่วนระบบเสียงมันจะวิ่งบนสาย QoS หรือ Quality of Service ซึ่งตัวนี้จะมี DHCP, VoIP เห็นมั้ยเริ่มย่อกันเยอะจัด ผมก็ไม่รู้ทำไมระบบเน็ตเวิร์กใช้คำย่อกันเยอะ จนบางครั้งเราก็งง แต่ว่ามันก็เป็นคำย่อที่เป็นมาตรฐานที่ทุกคนก็ใช้กัน บางครั้งตัว PPP เราเรียกว่า IEE1588 ก็ได้ แล้วแต่ชื่อเรียก แต่ว่ารูปแบบการทำงานจะคล้ายๆ กัน ซึ่งระบบของ Dante เนี่ยมันก็ใช้ระบบ DHCP, POP เหมือนกัน ใช้ PPP, VoIP เหมือน กัน เพราะฉะนั้นมันสามารถเข้าไปอยู่ในระบบของ AVB ได้ด้วย อันนี้ก็รูปแบบการเชื่อมต่อการแปลงข้อมูลไปในระบบ ตอนนี้ระบบ AVB มันยังอยู่ในระบบ Base เลเยอร์ 2 ยังไม่ได้ตกไปเลเยอร์ 3 วันนี้ผมเชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจคำว่าเลเยอร์มากขึ้น…
ขอบคุณ คุณ เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม วิทยากร : คุณศักดิ์ชัย ชัยประภาทอง และทีมงาน Audinate ที่มาของบทความดีๆ